uses Yoast SEO สำหรับบทความนี้จะเป็นการต่อจากการตั้งค่า Yoast SEO หรือถ้ายังไม่ได้อ่านให้เข้าไปดูของเดิมได้ที่นี่เลยครับ “Yoast SEO สุดยอดปลั๊กอินสำหรับการทำ SEO” และหัวข้อในบทความนี้ผมจะมาพาใช้งานปลั๊กอิน
การใช้งาน uses Yoast SEO
การใช้งานของตัวปลั๊กอิน หลังจากติดตั้งจะมีออฟชั่นเพิ่มเติมขึ้นมาที่หลังบ้านของการสร้าง โพสต์ / เพจ ใหม่ครับ
สำหรับเว็บที่ใช้ Gutenburg เป็น Editor จะได้การแสดงผลเหมือนผมเลยนะครับ สามารถดูจากคอนเทนต์นี้ได้เลย
ส่วนเว็บที่ใช้ Classic Editor จะมีเฉพาะ Metaboxes จากภาพด้านล่างฝั่งซ้ายเท่านั้นนะครับ


หลักๆ การทำงานจะเหมือนกันนะครับ เพียงแต่ Gutenburge จะมีเมนูแยกเท่านั้นเอง เดี๋ยวผมจะมาพาอธิบายทีหล่ะจุดนะครับ
สำหรับหลักๆ จะมีทั้งหมด 3 เมนู คือ SEO, Readability analysis, Social
SEO
เป็นตัวจัดการ SEO ที่เอาไว้สำหรับจัดการโพสต์นั้นๆ สำหรับเมนู SEO มีหัวข้ออีกทั้งหมด 7 หัวข้อ
Focus keyphrase
เอาไว้ใส่คีย์เวิร์ดของบทความนี้ ตรงนี้ถ้าเป็นเวอร์ชั่นฟรี จะสามารถใส่ได้เพียง คีย์เวิร์ดเดียวนะครับ ถ้าเป็นเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมจะสามารถใส่ได้หลายคีย์เวิร์ด
สำหรับคีย์เวิร์ดนี้เมื่อใส่ลองไป ระบบปลั๊กอินจะนำไปคำนวณทั้งบทความเพื่อแสดงผลว่าบทความนี้ยังขาดอะไรไปอีก สกอร์สำหรับบทความได้อยู่ที่เท่าไหร่
โดยสกอร์ที่ได้จะออกมาในรูปแบบ ไอคอนวงกลมสีต่างๆ นะครับ สีเทา หมายถึงไม่ได้ใส่คีย์เวิร์ด จำเป็นต้องใส่คีย์เวิร์ดด้วย
สีแดง หมายถึงคีย์เวิร์ดที่ใส่ลงไปไม่เหมาะสมกับบทความนี้เลย ต้องทำการปรับแก้ไขอย่างมาก
สีส้ม หมายถึง คีย์เวิร์ดที่ใช้กับบทความนี้ พอใช้ได้ มีข้อที่ทำได้ดี และยังมีข้อปรับปรุงอยู่บ้าง
สีเขียว คีย์เวิร์ดกับบทความนี้ เข้ากันได้ดีมากๆ เหมาะสำหรับการติดอันดับบนกูเกิ้ลแล้ว
Google preview
ตัวจำลองการแสดงผลบน google.com สำหรับหัวข้อนี้จะเป็นตัวอย่างการแสดงผลที่เราจะได้เห็นนะครับ


SEO analysis

ส่วนนี้เป็นการแสดงผลหลังจากเราใส่คีย์เวิร์ดเข้าไป ระบบจะแจ้งข้อความเตือนว่าบทความของเราจำเป็นต้องแก้ไขที่ปัญหา ต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือส่วนไหนที่ดีอยู่แล้ว
ไม่ต้องห่วงครับ เดี๋ยวผมจะเขียนบทความสำหรับการแก้ไขให้ตามรายหัวข้อเลย สามารถเข้ามาเช็คและปรับตามได้เลยนะครับ
Add related keyphrase
เป็นการใส่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ฟีเจอร์นี้จะมีในปลั๊กอินเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมเท่านั้นนะครับ
Cornerstone content
ตรงนี้เป็นการเซ็ทให้บทความนี้เป็นคอนเทนต์ประเภท Cornerstone content ถ้ามีใครสงสัยว่า Cornerstone content คืออะไร รอในบทความต่อไปนะครับ ผมจะมาเขียนบทความให้ต่อไปครับ
Advanced

Readability
Readability คือตัวบอกว่าบทความของเราเหมาะสมกับผู้อ่านหรือไม่ มากน้อยขนาดไหน ถ้าเหมาะสมจะมีไฟสีเขียว พอใช้ได้คือสีส้ม และควรปรับปรุงเลยคือสีแดง

สำหรับ Readability ก็จะมีข้อความแนะนำเหมือนกับเมนูของ SEO เลยครับ เป็นข้อๆ เพื่อเป็นกฏในการเขียนเนื้อหา
ตรงนี้จะเป็นการช่วยเราอย่างมากเลย การทำ SEO การลงข้อมูลในบอทเข้ามาเก็บข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ก็จริงๆ แต่สิ่งที่จะทำให้คนอ่านบทความของเราจริงๆ อยู่กับเรานานๆ เราต้องเขียนบทความให้ น่าอ่าน เป็นข้อมูลที่ดีจริงๆ และต้องใส่ใจกับการเขียนด้วยนะครับ
เทคนิคของผมเองคือพยายามเขียนให้อ่านเข้าใจง่ายๆ หลังจากเขียนบทความก็อ่านบทความซ้ำสัก 2-3 เป็นอย่างน้อย
พยายามเคาะบรรทัดให้บทความของเรานั้นอ่านง่าย และไม่สุดท้ายถึงขนาดคิดตั้งแต่เขียนธีมนี้เลยว่า ต้องไม่กว้างจนเกินไป เพราะไม่ต้องการให้ผู้อ่าน ส่ายตาไปมาจนรู้สึกเหนื่อยเกินไป
กลับมาที่ปลั๊กอิน สำหรับหัวข้อต่างๆ ผมก็จะเขียนอธิบายให้อย่างแน่นอน ในบทความต่อไปครับ
Social
Social Facebook
คือตัวจัดการ Meta สำหรับถ้าใครไม่ต้องการจะใช้ของเดิม ที่มีการตั้งค่าไว้ก่อนหน้า เราสามารถจะใส่ Meta ที่นี่ได้เลย
สำหรับ Meta ที่เราสามารถแก้ไขได้จะมี Facebook Title, Facebook Description, Facebook Image

Social Twitter
คือตัวจัดการกับ Meta เหมือนกับออฟชั่นของเฟสบุ๊กที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น แต่สำหรับหัวข้อนี้จะเป็นการตั้งค่า Meta ใหม่ของ Twitter นั่นเอง
สำหรับ Meta ที่เราสามารถแก้ไขได้จะมี Twitter Title, Twitter Description, Twitter Image

สรุปการใช้งาน
ก็สำเร็จไปนะครับ สำหรับการใช้งาน ปลั๊กอิน ตอนนี้ซีรี่ย์นี้ก็มาที่บทที่ 2 แล้วนะครับ “บทที่ 2 การใช้งาน Yoast SEO แบบละเอียดยิบ” ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความแรก สามารถเข้าไปดูได้ที่ “Yoast SEO สุดยอดปลั๊กอินสำหรับการทำ SEO บทที่ 1“
และอีกไม่นาน ผมจะมาปิดบทความซีรี่ย์นี้นะครับ มาพร้อมกับการแก้ปัญหาตามหัวข้อ ทุกหัวข้อจนกว่าบทความของเราจะไฟเขียว พร้อมกับการติดอันดับของกูเกิ้ลกันเลยครับ
ช่องทางการติดต่อ สามารถติดตามเราได้ที่เพจ I-Makeweb เพิ่มเติม หรือถ้าต้องการปรึกษาเรื่องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น WordPress cms หรือ PHP Framework ใดๆ ทักมาคุยกันได้ที่ “สอนเขียน Theme Plugin WordPress ถาม – ตอบ เรื่อง WordPress“
รวมบทความ Yoast SEO ทั้งหมด
- WordPress Yoast SEO สุดยอดปลั๊กอินสำหรับการทำ SEO บทที่ 1
- Yoast SEO รวมกฏการเขียนทุกข้อให้ได้ไฟเขียว บทที่ 3

